ซุปเปอร์ฟู้ดที่มีทั้งคนรักและคนชัง "กระเทียม" สมุนไพรกลิ่นฉุน...
สมุนไพรกลิ่นฉุนที่มีทั้งคนที่ชอบรับประทานและคนที่แทบจะทนกลิ่นไม่ได้นี้ เป็นหนึ่งในส่วนประกอบพื้นฐานที่สำคัญของตำราอาหารในหลายวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นอาหารไทย อาหารจีน หรืออาหารอินเดีย กระเทียมเป็นสิ่งคู่ครัวที่ขาดไม่ได้ แต่สมุนไพรนี้ไม่ได้เป็นเพียงตัวชูรสให้อาหารกลมกล่อมมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยต้านทานสารพัดโรคได้อีกด้วย มาดูกันว่าสมุนไพรตัวนี้มีสรรพคุณอะไรบ้าง และถ้าจะเลือกทานกระเทียมที่คุณภาพดี เราต้องสังเกตจากอะไร
สมุนไพรกลิ่นฉุนที่มีทั้งคนที่ชอบรับประทานและคนที่แทบจะทนกลิ่นไม่ได้นี้ เป็นหนึ่งในส่วนประกอบพื้นฐานที่สำคัญของตำราอาหารในหลายวัฒนธรรม ไม่ว่าจะเป็นอาหารไทย อาหารจีน หรืออาหารอินเดีย กระเทียมเป็นสิ่งคู่ครัวที่ขาดไม่ได้ แต่สมุนไพรนี้ไม่ได้เป็นเพียงตัวชูรสให้อาหารกลมกล่อมมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยต้านทานสารพัดโรคได้อีกด้วย มาดูกันว่าสมุนไพรตัวนี้มีสรรพคุณอะไรบ้าง และถ้าจะเลือกทานกระเทียมที่คุณภาพดี เราต้องสังเกตจากอะไร
ทำไมกระเทียมถึงเป็น...
สมุนไพรไร้เทียมทาน
ประโยชน์ข้อที่ 1
ช่วยป้องกันไข้หวัด เพิ่มภูมิคุ้มกัน
หนึ่งในข้อดีของกระเทียมคือ เต็มเปี่ยมไปด้วยสารแอลลิซิน (Allicin) ซึ่งเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบ สารตัวนี้มีสองบทบาทหลักเรื่องสุขภาพคือ ต้านเชื้อแบคทีเรียและไวรัสไม่ให้เข้าสู่เซลล์ และยังเสริมระบบภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรงขึ้นอีกด้วย ดังนั้นหากวันไหนเรารู้สึกคัดจมูกหรือเริ่มจะเป็นหวัด การรับประทานกระเทียมจะช่วยต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมในร่างกายและช่วยขยายทางเดินหายใจให้ปอดรู้สึกโล่งขึ้น
สมุนไพรไร้เทียมทาน
ประโยชน์ข้อที่ 1
ช่วยป้องกันไข้หวัด เพิ่มภูมิคุ้มกัน
หนึ่งในข้อดีของกระเทียมคือ เต็มเปี่ยมไปด้วยสารแอลลิซิน (Allicin) ซึ่งเป็นสารประกอบอินทรีย์ที่มีกำมะถันเป็นองค์ประกอบ สารตัวนี้มีสองบทบาทหลักเรื่องสุขภาพคือ ต้านเชื้อแบคทีเรียและไวรัสไม่ให้เข้าสู่เซลล์ และยังเสริมระบบภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรงขึ้นอีกด้วย ดังนั้นหากวันไหนเรารู้สึกคัดจมูกหรือเริ่มจะเป็นหวัด การรับประทานกระเทียมจะช่วยต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมในร่างกายและช่วยขยายทางเดินหายใจให้ปอดรู้สึกโล่งขึ้น
ประโยชน์ข้อที่ 2
ฟื้นฟูสุขภาพผิว ป้องกันสิว และลดรอยแผลเป็น
ใครจะรู้ว่ากระเทียมที่ไม่เป็นมิตรกับกลิ่นปาก กลับเป็นคู่แท้ของผิวที่เป็นรอยแผล เพราะข้อดีอีกข้อของสารแอลลิซิน คือเป็นสาร ต้านเชื้อโรคเชื้อรา ลดการอักเสบของผิว ลดอาการผื่นคัน และเพิ่มการไหลเวียนของเลือดซึ่งทำให้ผิวรับสารอาหารได้ดีขึ้น นอกจากนี้งานวิจัยยังพบว่า กระเทียมมีวิตามินซี วิตามินบี 6 ซีลีเนียม สังกะสีที่มีคุณสมบัติช่วยควบคุมความมัน และสารไธโอซัลฟิเนต (Thiosulfinates) หรือสารที่ทำให้กระเทียมมีกลิ่นฉุน ช่วยระงับแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว
ประโยชน์ข้อที่ 3
เสริมสร้างพละกำลัง รักษาระดับคอเลสเตอรอล ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ
เรียกได้ว่าการรับประทานกระเทียมเหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย เพราะตัวเอกของกระเทียมอย่างสารแอลลิซิน (Allicin) มีส่วนช่วยลดระดับไขมันไม่ดีและระดับไตรกลีเซอไรด์ในหลอดเลือดที่เป็นต้นเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ นอกจากนี้ยังมีสารเจอร์มาเนียม (Germanium) ซึ่งมีหน้าที่เพิ่มออกซิเจนในเซลล์ ลดความเหนียวหนืดของเลือด และทำให้การลำเลียงเลือดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นการเพิ่มพละกำลังให้คนรักสุขภาพออกกำลังกายได้นานขึ้น ไม่เหนื่อยเร็ว
เสริมสร้างพละกำลัง รักษาระดับคอเลสเตอรอล ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ
เรียกได้ว่าการรับประทานกระเทียมเหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย เพราะตัวเอกของกระเทียมอย่างสารแอลลิซิน (Allicin) มีส่วนช่วยลดระดับไขมันไม่ดีและระดับไตรกลีเซอไรด์ในหลอดเลือดที่เป็นต้นเหตุของโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ นอกจากนี้ยังมีสารเจอร์มาเนียม (Germanium) ซึ่งมีหน้าที่เพิ่มออกซิเจนในเซลล์ ลดความเหนียวหนืดของเลือด และทำให้การลำเลียงเลือดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ถือเป็นการเพิ่มพละกำลังให้คนรักสุขภาพออกกำลังกายได้นานขึ้น ไม่เหนื่อยเร็ว
ประโยชน์ข้อที่ 4
ปรับปรุงการทำงานของสมอง
ช่วยเกี่ยวกับโรคทางระบบประสาท
ความเป็นซุปเปอร์ฟู้ดของกระเทียมไม่ได้มีเพียงการเพิ่มภูมิคุ้มกัน รักษาแผลกาย หรือดูแลหัวใจเท่านั้น แต่ยังช่วยชะลอการเสื่อมของสมองด้วย การศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมิสซูรีพบว่า สารต้านอนุมูลอิสระในสารประกอบออร์กาโนซัลเฟอร์ (Organosulfur) ที่พบในกระเทียมนั้น ช่วยลดการอักเสบของเส้นประสาทที่เกิดจากความเครียด รวมถึงช่วยปรับปรุงความจำและการทำงานในสมองอีกด้วย
ปรับปรุงการทำงานของสมอง
ช่วยเกี่ยวกับโรคทางระบบประสาท
ความเป็นซุปเปอร์ฟู้ดของกระเทียมไม่ได้มีเพียงการเพิ่มภูมิคุ้มกัน รักษาแผลกาย หรือดูแลหัวใจเท่านั้น แต่ยังช่วยชะลอการเสื่อมของสมองด้วย การศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมิสซูรีพบว่า สารต้านอนุมูลอิสระในสารประกอบออร์กาโนซัลเฟอร์ (Organosulfur) ที่พบในกระเทียมนั้น ช่วยลดการอักเสบของเส้นประสาทที่เกิดจากความเครียด รวมถึงช่วยปรับปรุงความจำและการทำงานในสมองอีกด้วย
แล้วกระเทียมที่ดีต้องสังเกตอย่างไร
วิธีการรับประทานกระเทียมในปัจจุบันมีตั้งแต่การรับประทานแบบสดๆ แบบน้ำมันสกัด จนไปถึงรูปแบบอัดเม็ด แต่หากต้องการได้ประโยชน์สูงสุดนั้น ต้องเริ่มตั้งแต่การคัดเลือกกระเทียมที่มีคุณภาพและต้องเป็นกระเทียมสด หัวกระเทียมควรจะอวบ มีกลีบที่กระชับตึงและไม่แตกออกง่ายไม่มีกลิ่นฉุน หากกระเทียมมีน้ำหนักและแน่น นั่นแปลว่ากระเทียมมีความสดและมีรสชาติดี ยกตัวอย่าง เช่น กระเทียมข้อมูลอ้างอิง:
- https://www.healthline.com/nutrition/11-proven-health-benefits-of-garlic
- https://www.medicalnewstoday.com/articles/garlic-for-acne
- https://www.everydayhealth.com/diet-nutrition/potential-benefits-of-adding-garlic-to-your-recipes-and-meals/
- https://medicine.missouri.edu/news/garlic-found-protect-brain-against-disease-aging#...
- https://blog.designsforhealth.com/node/1021
- https://goodgarlic.co.in/2020/08/01/goodgarlic/