“ท้องผูก” เป็นอาการที่สามารถเกิดขึ้นได้
กับคนทุกเพศทุกวัย
คุณเองก็เป็นคนหนึ่งที่เคยต้องทรมาน กับการขับถ่ายและคิดว่าตัวเองมีอาการ ท้องผูกใช่ไหม? ไม่แปลกเลยที่คุณจะคิดแบบนั้น เพราะจากการศึกษาพบว่า มีคนไทยถึง ร้อยละ 24 ที่คิดว่าตนเองมีปัญหาท้องผูก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะคนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่า อาการท้องผูกคือ การถ่ายอุจจาระน้อยครั้ง แต่ที่จริงแล้วนั้น อาการท้องผูกอาจไม่ได้ เกี่ยวข้องกับความสม่ำเสมอหรือจำนวน ครั้งในการขับถ่ายเสมอไป…
แล้วแบบไหนกันล่ะ? ที่เรียกว่า “ท้องผูก” ลองมาสังเกตตัวเองกันหน่อยดีกว่า ว่าคุณกำลังเป็นแบบนี้อยู่รึเปล่า?
- ถ่ายยาก… กว่าจะถ่ายได้แต่ละที ต้องใช้เวลาอยู่ในห้องน้ำนานๆ เป็นประจำ
- ถ่ายน้อย… ใน 1 สัปดาห์ ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้ง
- ถ่ายไม่ออก… เหมือนมีอะไรมาอุดกั้น บริเวณทวารหนัก
- ถ่ายออก… แต่อุจจาระมีลักษณะแห้ง เป็นก้อนแข็งกว่าปกติ
- เมื่อถ่ายเสร็จแล้ว… มีความรู้สึกว่ายังถ่ายไม่สุด
- รู้สึกอึดอัด แน่น ไม่สบายท้อง
ถ้าคำตอบของคุณ คือ “ใช่” มากกว่า 2 ใน 6 ข้อนี้ แสดงว่าคุณกำลังมีอาการ “ท้องผูก” แน่นอน…
หลากหลายที่มาของอาการท้องผูก
อาการท้องผูก สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ แบ่งออกเป็น 5 สาเหตุหลักๆ ดังนี้
- สาเหตุจากพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย, เคลื่อนไหวน้อย ขาดการออกกำลังกาย, ดื่มน้ำน้อย หรือมีความเครียด ฯลฯ
- สาเหตุจากโรคทางกาย เช่น เบาหวาน ต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ แคลเซียมในเลือดสูง โรคทางระบบประสาท โรคทางสมองหรือไขสันหลัง โรคของลำไส้ หรืออาจมีความผิดปกติที่ทวารหนัก ฯลฯ
- สาเหตุจากผลข้างเคียงของยาบางชนิด เช่น กลุ่มยาทางจิตเวช ยาแก้แพ้บางชนิด ยาคุมกำเนิด ยาลดความดัน ฯลฯ
- สาเหตุจากการทำงานของลำไส้หรือกล้ามเนื้อที่ควบคุมการขับถ่ายมีความผิดปกติ เช่น การเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่ช้ากว่าปกติ กล้ามเนื้อหูรูดทวารหนักทำงานไม่ประสานกับการเบ่ง หรือมีภาวะลำไส้แปรปรวน
- สาเหตุจากสุขนิสัยในการขับถ่ายที่ไม่ดี เช่น ขับถ่ายไม่เป็นเวลา ชอบกลั้นอุจจาระ เคยชินกับการทานยาระบายหรือการสวนอุจจาระเองบ่อยๆ
ร้ายแรงกว่าที่คิด!
ท้องผูกบ่อยๆ อย่าปล่อยให้เป็น “เรื่องปกติ”
อย่างที่บอกไปในตอนต้นแล้วว่า “อาการท้องผูก” เกิดขึ้นได้กับทุกคน สามารถพบได้บ่อย และก็มี คนจำนวนไม่น้อยที่คิดว่าตัวเองมีอาการนี้ จึงทำให้หลายๆ คนเข้าใจกันไปว่าเป็นเรื่องปกติ ซึ่งอาจจะจริงอยู่ ที่อาการท้องผูกไม่ใช่โรคที่ อันตราย แต่ถ้าหากปล่อยไว้เป็นเวลานานจน “เรื้อรัง” ย่อมนำไปสู่ผลเสียอย่างแน่นอน ทั้งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ต้องเสียเวลาอยู่ในห้องน้ำนานๆ จนกระทบกับ กิจกรรมอื่นๆ ฯลฯ ผลกระทบในด้านอารมณ์ ทำให้เกิดความเครียด ไม่สดชื่น หงุดหงิด ฯลฯ และที่สำคัญที่สุด คือผลกระทบด้านสุขภาพ ร่างกาย ที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนบางอย่างได้ เช่น แผลในลำไส้ใหญ่ ริดสีดวงทวารหนัก หรือ ที่น่ากลัวที่สุดก็คือ “อาการท้องผูก” อาจเป็น สัญญาณเตือนของ “มะเร็งลำไส้ใหญ่”
ดังนั้นใครที่ท้องผูกเป็นประจำ ควรหมั่น สังเกตตัวเองอยู่เสมอ ว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่
- อุจจาระมีลักษณะเปลี่ยนไป ขนาดเปลี่ยน มีสีดำ หรือมีเลือดปน
- คลำพบก้อนในช่องท้อง
- น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
- มีภาวะซีด อ่อนเพลีย
- ท้องผูกเรื้อรังจนมีอาการลำไส้อุดตัน ปวดท้องมาก อึดอัด แน่นท้อง คลื่นไส้อาเจียน
ถ้ามีอาการเหล่านี้… อย่านิ่งนอนใจเด็ดขาด! ควรรีบไปพบแพทย์ทันที เพื่อตรวจหาสาเหตุ เพิ่มเติมอย่างเหมาะสม
“ผูก” ได้ ก็ “แก้” ได้!
อาการท้องผูกนั้นสามารถป้องกันและ แก้ไขให้ทุเลาลงได้ เริ่มต้นง่ายๆ แค่ลองปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต
- เคลื่อนไหวร่างกายให้มากขึ้น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- ดื่มน้ำให้มากพอ เพื่อให้อุจจาระอ่อนนุ่มถ่ายง่าย
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่
- เปลี่ยนพฤติกรรมการขับถ่ายให้เหมาะสม ฝึกขับถ่ายให้ได้ทุกวัน ไม่กลั้นอุจจาระโดยไม่จำเป็น
- รับประทานผัก ผลไม้ ให้มากขึ้น และเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์กับระบบทางเดินอาหาร
แบคทีเรีย ไม่ได้มีแต่ข้อเสียเสมอไป!
ทำความรู้จักกับ “โพรไบโอติกส์” แบคทีเรียดี ที่ช่วยเรื่องลำไส้
เมื่อพูดถึง “แบคทีเรีย” ใครๆ ก็มักจะนึกถึง เชื้อโรคตัวร้ายที่ก่อให้เกิดโรคกับร่างกาย แต่จริงๆ แล้วนั้น ในร่างกายของคนเรามีจุลินทรีย์อยู่หลาย ล้านชนิด ทั้งชนิดที่ก่อให้เกิดโทษต่อร่างกาย อย่างที่หลายคนเข้าใจ และก็ยังมีแบคทีเรียที่เป็น มิตรกับร่างกาย มีประโยชน์ ช่วยให้สุขภาพดี อยู่ด้วย ซึ่งแบคทีเรียนี้ก็คือ “โพรไบโอติกส์” นั่นเอง “โพรไบโอติกส์” จะอยู่ทั้งในระบบทางเดินอาหาร และระบบอื่นๆ ของร่างกาย ถ้าเราได้รับ โพรไบโอติกส์ในปริมาณที่เหมาะสม ก็จะช่วยเสริม การทำงานของระบบทางเดินอาหาร ช่วย ป้องกันโรคและรักษาภาวะที่ผิดปกติต่างๆ นอกจากนี้ โพรไบโอติกส์ยังมีบทบาทสำคัญที่ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่างๆ ต่อลำไส้ ซึ่งช่วยไม่ให้ เกิดอาการท้องผูกได้ ทั้งป้องกันไม่ให้เชื้อก่อโรค จับที่ผิวเยื่อบุลำไส้ โดยการสร้างเกราะป้องกัน บริเวณเยื่อบุลำไส้, ยับยั้งการเจริญเติบโตของ เชื้อฉวยโอกาสในร่างกาย, กระตุ้นระบบการ ย่อยอาหาร และช่วยรักษาสมดุลจุลินทรีย์ใน ร่างกายที่เสียไป
ไม่ใช่แค่ “โพรไบโอติกส์” เท่านั้น ที่เราควรทำ ความรู้จักไว้ แต่ยังมี “พรีไบโอติกส์” ซึ่งเป็น อาหารชนิดหนึ่ง ที่ร่างกายไม่สามารถย่อยและ ดูดซึมได้ที่ลำไส้เล็ก จึงเข้าสู่ลำไส้ใหญ่ได้แบบไม่ เปลี่ยนรูป และจะถูกย่อยสลายโดยโพรไบโอติกส์ กระตุ้นการเจริญเติบโตและช่วยให้แบคทีเรีย ทำงานได้ดีขึ้น พูดง่ายๆ ก็คือ พรีไบโอติกส์เป็น อาหารของโพรไบโอติกส์นั่นเอง ดังนั้น ถ้าหากเ รารับประทานอาหารที่มีพรีไบโอติกส์ ก็จะเป็น การเสริมให้โพรไบโอติกส์แข็งแกร่งขึ้นกว่าเดิม เมื่อรู้อย่างนี้แล้ว ใครที่มีอาการท้องผูกบ่อยๆ แก้ไม่หายซะที… ลองหันมารับประทานอาหาร ที่มีทั้ง “โพรไบโอติกส์” และ “พรีไบโอติกส์” ควบคู่กันไป ก็ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกดีๆ ที่อาจจะช่วยให้การ “ถ่าย” ครั้งต่อไป ง่ายขึ้นได้
ข้อมูลอ้างอิง
พีระนาถ โชติวิทยธารากร (2562) โรคท้องผูก ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม (ออนไลน์)
สืบค้นจาก https://www.bangpakokhospital.com/careblog (6 มิถุนายน 2563)
อนุพงศ์ ตั้งอรุณสันติ (2562) ท้องผูก บอกเราเสี่ยงมะเร็งลำไส้ (ออนไลน์)
สืบค้นจาก https://www.samitivejhospitals.com/th/health-articles (6 มิถุนายน 2563)
ศูนย์ข้อมูลยาโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ (2562) โพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์ต่างกันอย่างไร (ออนไลน์)
สืบค้นhttps://www.bumrungrad.com/th/health-blog/july-2019/probiotics-and-prebiotics (6 มิถุนายน 2563)
Prasun Chatterjee (2019) Constipation: More than just “A Symptom” (Online)
สืบค้นจาก https://link.springer.com/chapter/10.1007/978-981-13-8938-2_5 (6 มิถุนายน 2563)
Erica Julson (2017) 5 Possible Side Effects of Probiotics (Online)
สืบค้นจาก https://www.healthline.com/nutrition/probiotics-side-effects#section1 (6 มิถุนายน 2563)